ภูกระดึง ขุนเขามหัศจรรย์แห่งเมืองเลย
เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhS5PogF4m-o_6Q1gk9RyLjOxfiTQhR76cJXut0IYBzhOmrgfFO9IOXpippeGYudztWHqPi_O1IErp7r3N_GoHtZ23Zu273juQKsOCKDjEcBratw8qvbOL3i98VfC7BoJM_YFWVfc26Gw/s320/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2587+2.jpg) |
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgU63z3LvV1LDt1lae3-D-gnoEEzoOpu685xKaHkIzQi3gxJhfpX_ZRU42aUP1GQ3asof3Oi5xNfLgtTXdoRE9jOmquay2TbV8tvoCqU9fJdAFDm6krl1-BwGsscWOykXWYg27Ie8AGnA/s320/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2587+3.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgXdzCWdD0euuf9GIUg4PFsqiYcdtvHLkgUgbNqWy3RTCYoCwrc9ayYe8jqZYkaDfUx53EmmJyg4BaH7pg62e3V4nWQjUPwxVozXzwJGc_sgNGqV1-WBuxaIEaW6S6mHGa1BSSQgmSZ5w/s320/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2587+4.jpg) |
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียง ใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น |
http://travel.kapook.com/view477.html
http://www.moohin.com/049/049e002.shtml
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น